คำถามดังกล่าวนี้ได้รับการอภิปรายในงาน Thailand HR Forum 2020 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 18-20 สิงหาคม พ.ศ.2563 ในรูปแบบออนไลน์
งานดังกล่าวจัดขึ้นโดย สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) โดยมีคุณ Boonchoo Malhotra จากบริษัท PeopleStrong ร่วมพูดคุยกับคุณปริญญ์ พิชญวิจิตร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล (CPO) ในบริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดเเอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) เพื่ออภิปรายเกี่ยวกับอนาคตของการจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถ หรือ Talent Management ในประเทศไทย ในขณะที่สถานการณ์โควิด กำลังสร้างผลกระทบต่อการทำงานของพวกเราไปเรื่อย ๆ
คุณปริญญ์มีประสบการณ์มากกว่า 25 ปีในวงการทรัพยากรบุคคลและเป็นหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังโครงการสำคัญของบริษัทน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งได้รับรางวัล The Best Employer จาก Aeon Hewitt ในปี 2016, 2017 และ 2018
การอภิปรายเริ่มต้นด้วยกันนำเสนอ จดหมาย 2028 ของ PeopleStrong โดยจดหมายดังกล่าวนี้ถูกเขียนขึ้นเมื่อสองสามปีก่อน เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ที่มีชื่อว่า #newcodeofwork และจะเชื่อมกับสิ่งที่ทางบริษัทได้คาดการณ์ไว้สำหรับปี 2028
ประเด็นสำคัญถูกกล่าวถึงในจดหมายดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
สำนักงานในรูปแบบดิจิทัล
การทำงานและการประชุมแบบเสมือนจริง
อนาคตของรูปแบบการเดินทาง
ข้อมูลเรียลไทม์
ข้อมูลบุคคล
และวิธีการที่ประเด็นดังกล่าวจะกำหนดอนาคตใหม่ให้กับการจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถ
ความท้าทายสำหรับองค์กรต่าง ๆ
สถานการณ์อันเนื่องมาจากโรคระบาดได้สร้างความท้าทายให้กับองค์กรต่าง ๆ ในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม ปริมาณและความถี่ของผู้สมัครนั้นมักผกผวนและคาดเดาไม่ได้ หากมีจำนวนผู้สมัครมากเกินไป จะเกิดผลกระทบต่อกระบวนการรับสมัครและเพิ่มภาระให้ทีมงานที่รับผิดชอบด้านการสรรหาบุคลากรอย่างมาก
เพื่อให้แน่ใจว่าได้พิจารณาผู้สมัครทุกคนอย่างถี่ถ้วน
ในขณะที่การทำงานทางไกลกำลังกลายเป็นปกติมากขึ้นทุกที กระบวนการคัดเลือกผู้สมัครเบื้องต้นก็ได้วิวัฒนาการไปพร้อม ๆ กันด้วย ซึ่งทำให้การความรับผิดชอบต่อตนเองและความสามารถในเพ่งความสนใจมีความสำคัญมาก เพื่อให้สามารถทำงานได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีการรบกวนสูง
ในส่วนของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อาจมีการลดปริมาณการว่าจ้างซึ่งอาจทำให้พนักงานเดิมมีความตึงเครียดมากขึ้น เนื่องจากต้องทำงานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และอาจต้องเกี่ยวข้องกับงานที่ไม่ถนัด วิถีการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญในรูปแบบเก่าจะใช้งานไม่ได้อีกต่อไป
ประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้จักนำไปสู่การเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการทรัพยากรที่ดีขึ้นในระดับบุคคล และการปฏิรูปความคิดเกี่ยวกับการจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถในองค์กร ซึ่งต้องได้รับการพิจารณาเผื่อบรรจุเข้าสู่แผนงานขององค์กร ในระยะยาว เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจไม่สามารถควบคุมได้และอาจสร้างผลเสียหายให้กับธุรกิจ
แต่โชคยังดีที่การเติบโตทางเทคโนโลยีได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วซึ่งช่วยให้พวกเราหลาย ๆ คน ยัง “พบหน้า” กันได้ผ่าน Zoom และ Teams แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ เราจะช่วยให้บุคลากรผู้มีความสามารถเหล่านั้นยังสามารถทำงานร่วมกันต่อไปและสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นได้อย่างไร? แล้วเทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นได้อย่างไร?
ในขณะที่การจ่ายเงินเดือนยังคงเป็นส่วนสำคัญของค่าใช้จ่าย การกักตุนบุคลากรเอาไว้อาจทำให้ธุรกิจล้มได้อย่างรวดเร็วมาก เมื่อเกิดสถานการณ์ไม่พึงประสงค์ การแบ่งปันบุคลากรผู้มีความสามารถจะเป็นไปได้หรือไม่?
เสริมจากที่คุณปริญญ์ได้กล่าวไปนั้น บุญชูได้ย้ำถึงความต้องการพนักงานในการเพิ่มความสามารถในส่วนที่พวกเขาไม่ได้เชี่ยวชาญอยู่แล้ว สำหรับองค์กรแล้วนั้น การจ้างงานต้องเปลี่ยนเป็นรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้แน่ใจได้ว่ากระบวนการต่าง ๆ จะไม่หยุดนิ่งหากไม่สามารถพบปะพูดคุยกันแบบตัวต่อตัวได้
การทำงานทางไกลได้ทำให้การบริหารงานแบบเดิม ๆ เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป ศักยภาพทั้งหมดต้องทุ่มเทไปที่ผลลัพธ์ ซึ่งจะกลายเป็นเรื่องปกติ แทนการประเมินศักยภาพรายปี
วิถีการจัดการอบรมแบบดั้งเดิมภายในบริษัทหรือนอกสถานที่จะเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เทคโนโลยีได้สร้างทางเลือกใหม่แก่การพัฒนาทักษะ
ด้วยระบบการจัดการการอบรม หรือ Learning Management System (LMS) ซึ่งสามารถสร้างได้ตามต้องการ และ PeopleStrong ก็ได้ใช้ประโยชน์จากระบบดังกล่าวเพื่อจัดการอบรมไปมากกว่า 15,000 รายการโดยมีผู้เข้าร่วมถึง 100,000 คนในระยะเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผ่าน Alt Learning
ตัวแปรความสำเร็จสำคัญในการจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถซึ่งใช้งานได้ดี
จากที่คุณปริญญ์ได้กล่าวไว้ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการอบรมภายในบริษัทเป็นเรื่องฟุ่มเฟือย บริษัทที่สามารถปรับตัวได้ดีกับดิจิทัลได้มองเห็นแล้ว่าการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก บริษัทต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องคิดทบทวนและจัดลำดับความสำคัญใหม่ เพื่อให้พนักงานเป็นศูนย์กลางและสร้างรากฐานเกี่ยวกับการจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถ เพื่อให้บุคลากรดังกล่าวคงความสามารถเอาไว้เช่นเดิม
ประเด็นที่กล่าวมานี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะผู้จัดการในกลุ่มงานบุคคล เพื่อให้พวกเราสามารถจัดการกับสมาชิกในทีมได้ดีขึ้น และนั่นหมายถึงความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เพื่อให้งานดำเนินต่อไปได้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์การทำงานของพนักงานทุกคน เมื่อพนักงานได้รับการดูแลอย่างดีแล้ว
พวกเขาจะสามารถดูแลลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นด้วย
บุญชูได้เสริมว่าการประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นไปได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี
เนื่องจากเทคโนโลยีสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า การตัดสินใจที่รวดเร็วสามารถเกิดขึ้นได้โดยการใช้ข้อมูลแบบเรียลไมท์ซึ่งต้องถูกดึงมาจากแพลตฟอร์มที่ถูกต้อง โดยที่แพลตฟอร์มเหล่านั้นต้องคอยเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องอยู่เป็นประจำ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ได้เป็นที่ประจักษ์ในการทำงานร่วมกันระหว่าง PeopleStrong และ BDMS เครือข่ายโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พวกเขาสามารถจัดการอบรมออนไลน์ทดแทนการอบรมแบบเดิมที่ต้องถูกยกเลิกไป การผสมการเรียนด้วยตนเองและการเรียนแบบกลุ่มไปพร้อมกันนั้นช่วยให้การอบรมมีความยืดหยุ่นและหลากหลาย และช่วยให้พนักงานเข้าร่วมมากขึ้น และสามารถติดตามตรวจสอบได้ในระบบหลังบ้าน ซึ่งช่วยให้ฟีดแบ็คเพื่อการพัฒนาอุปกรณ์การอบรมให้ดีขึ้นในอนาคต
แล้วอนาคตของการจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร?
ในช่วงเริ่มต้น คำจำกัดความของพนักงานถาวรจะเปลี่ยนไป เนื่องจากแรงงานจะมีความลื่นไหลและมีลักษณะเหมือนลูกจ้างชั่วคราว การจ้างงานแบบดิจิทัลจะมีปริมาณมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับการจ้างแบบมีสัญญาจ้าง
การจัดการบุคลากรผู้มีความสามารถจะนำไปสู่ความสำเร็จ องค์กรจำนวนมากจะเพ่งความสนใจไปที่การระบุตัวทายาทในทีมที่มีอยู่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยการพัฒนาศักยภาพภายในหรือการดึงจากแหล่งภายนอก ซึ่งนี่จะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถกำหนดภาระงานได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถ สามารถทดสอบและส่งเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ แต่ยังคงหลักแหลมและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
คลิกที่นี่เพื่อดูวีดีโอสัมมนาออนไลน์ หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ PeopleStrong เปลี่ยนนิยามของคำว่า Talent Manangement