
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ลูกจ้างหรือพนักงานทั่วประเทศตกที่นั่งลำบาก ธุรกิจต่าง ๆ พยายามกันอย่างหนักเพื่อที่จะเชื่อมต่อ ปรับระบบและประยุกต์ใช้กระบวนการใหม่ ๆ เพื่อให้ธุรกิจเติบโต ทำให้เกิดจุดเชื่อมโยงที่สำคัญที่สุด เพื่อที่จะเอาชีวิตรอดในโลกใบใหม่นี้ และบทบาทหน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็ได้เปลี่ยนแปลง (อาจจะตลอดไป)
จากงานวิจัยของ Harvard Business Review พบว่าพนักงานกว่า 73% ยังคงต้องพึ่งพานายจ้างในการชี้นำและสนับสนุนในการวางแผนงานในอนาคต บทบาทของหัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในขณะนี้ เนื่องจาก Peoplecare กำลังอยู่ในวาระการประชุมของคณะกรรมการ และฉันเชื่อว่ามันจะยังคงเป็นเช่นนั้นต่อไป
และนี่ก็คือเทรนด์ที่จะเข้ามามีบทบาทกับ Peoplecare ในปีนี้!
1. ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (ML) จะกลายเป็นที่จับตามอง
เราทุกคนล้วนเคยได้ยินเรื่องนี้ผ่านหูกันมาซักระยะเวลาหนึ่ง แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2564 เราได้เห็นการเพิ่มขึ้นของการใช้งาน ML และ AI ซึ่งถูกนำมาเป็นส่วนประกอบเพิ่มเข้าไปในเทคโนโลยี
โดยกรณีดังกล่าวนั้นมีตัวอย่างมากมาย และคุณสามารถสังเกตตัวอย่างได้จากภาพต่อไปนี้ และสิ่งที่น่าจับตามองทั้งหลายเหล่านั้น ได้แก่:
• คลังความรู้ 24 ชั่วโมง ที่ตอบทุกคำถาม เพื่อคุณต้องการยอดขายที่ดีขึ้น ให้การบริการที่ดีขึ้น หรือทำงานได้ดีขึ้น!
• AI ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูล ข้อเสนอล่าสุดต่าง ๆ อัตราค่าโฆษณา สิ่งจูงใจ นโยบาย และอื่น ๆ อีกมากมายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส
• AI สามารถช่วยอัปเดตข่าวสาร ตลาดหุ้น ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ใกล้เคียง เช่น ที่ตั้งของตู้เอทีเอ็ม หรือโรงพยาบาล ตามคำถามที่คุณถาม
• AI ให้การเข้าถึงนโยบายทั้งหมด รวมถึงช่วยยกระดับการทำงานให้สูงขึ้น ได้ทุกที่ทุกเวลาในขณะที่ตอบทุกคำถามที่ได้รับ
แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ฮุนได ใช้ Jinie ซึ่งเป็น เอไอแชทบอทของ PeopleStrong เพื่อช่วยทั้งแรงงานฝ่ายผลิต และพนักงานในบริษัทกว่า 10,000 คน ในการทำงาน
2. การจัดการความสามารถแบบบูรณาการคือกุญแจสำคัญ
เมื่อ CXO (Chief Exponential Officer) และผู้นำแผนกต่าง ๆ ได้รับคำถามว่า “อะไรคือความเสี่ยงที่อันตรายที่สุดที่องค์กรของพวกเขาจะเผชิญในอีก
3 ปีข้างหน้า” พวกเขาจะนิยามความเสี่ยงด้านความสามารถเป็นภัยคุกคามหลัก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ อย่าง การสรรหาบุคลากร
การรักษาพนักงาน และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน หัวหน้าแผนกจะได้รับมอบหมาย ให้สร้างสมดุลระหว่างการบริหารงานบุคคล งานในทีมและแผนก ตลอดจนรายการผลงานของตัวพวกเขาเอง เป็นงานที่ฟังดูยาก แต่การเข้ามาของเทคโนโลยีช่วยทำให้หน้าที่นี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Talent OS (Operating System) เป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จมากขึ้น ด้วยความชัดเจนที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนกับ
ทั้งหัวหน้าและพนักงาน ด้วยความช่วยเหลือ ของระบบ AI และโครงข่ายประสาทเทียมของ Job Roles ที่ชาญฉลาดซึ่งจับคู่กับ Competencies & Skills ผู้นำธุรกิจจะได้รับประโยชน์จากการวิเคราะห์ความสามารถที่คาดการณ์ได้ ในขณะที่ช่วยให้ผู้จัดการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบปฏิบัติการ Talent คือแหล่งเดียวที่จัดเก็บทุกองค์ประกอบของกลยุทธ์ความสามารถขององค์กรวัตถุประสงค์เพียงอย่างเดียวคือพา Talent Acquisition และการจัดการกลยุทธ์ทั้งหมดของบริษัทขึ้นไปสู่บันไดขั้นที่สูงกว่า เพื่อท้ายที่สุดแล้วจะมีผลให้ความพึงพอใจของพนักงานและ
ความชัดเจนในวิสัยทัศน์ของธุรกิจเพิ่มขึ้น
3. ผลผลิตถูกขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์
การศึกษาของ Gallup รายงานว่า การมีส่วนร่วมของพนักงานนั้นสูงเป็นประวัติการณ์ แต่อย่างไรก็ตาม พนักงานประมาณ 53% ยังคงถูกจัดอยู่ในหมวด “ไม่เข้าร่วม” อยู่ดี เหล่าหัวหน้าจึงมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในการดึงดูดใจลูกน้องของเขา เพราะโมเดลผลประกอบการทำงานแบบเดิมไม่สามารถรักษาประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรในช่วงหลังการระบาดของโรคโควิด-19 ได้อีกต่อไป
ความต้องการตั้งเป้าหมาย
ทุกองค์กรจำเป็นที่จะต้องกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และการกลับคืนสู่ภาวะปกตินี้จะเกิดได้หากพนักงานทั้งหมดมีให้ความร่วมมือ และเชื่อมต่อกับธุรกิจและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร ด้วยเหตุนี้เอง ปัจจุบัน ผู้นำส่วนใหญ่จึงนำวิธีการ OKR (เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์สำคัญ) มาใช้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรที่เน้นผลลัพธ์ ซึ่งจะทำพาบริษัทไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ความต้องการความคล่องตัว
แตกต่างจากการวางแผนเชิงกลยุทธ์ระยะยาวแบบดั้งเดิม การใช้ OKR วางเป้าหมายที่สั้นกว่า ซึ่งช่วยให้ทีมสามารถปรับตัวให้สอดรับกับ
การเปลี่ยนแปลง ลดความเสี่ยงและการสูญเสีย OKR เชิงกลยุทธ์มักจะถูกกำหนดไว้เป็นเวลา 1 ปี และ OKR เชิงยุทธวิธีสำหรับช่วงไตรมาส ซึ่งควรวางแผนแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของบริษัท และเมื่อหมดเวลาในแต่ละรอบ ผู้ทำการวางแผนจะวิเคราะห์ผลลัพธ์และปรับ OKR เชิงกลยุทธ์ใหม่
ความต้องการความโปร่งใสและความรับผิดชอบ
เมื่อคุณอนุญาตให้ทีมตัดสินใจเกี่ยวกับ OKR ด้วยตัวเอง บริษัทจะได้เห็นการมีส่วนร่วมและ ความรับผิดชอบของพนักงานแต่ละคนที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากความรู้สึกเป็นเจ้าของ การกำหนดเป้าหมาย
แบบ Bottom-up ช่วยให้บริษัท ได้ใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญของพนักงานเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงมักรู้เพียง 4% ของปัญหาทั่วไปที่พนักงานพบเจอ วิธีการดังกล่าวช่วยลดความเพิกเฉยต่อปัญหาของผู้บริหารได้
4. Virtual Experiences สำคัญยิ่งกว่าที่เคย
ตลาด AR และ VR ทั่วโลกถูกคาดการว่าจะสร้างเม็ดเงินได้ถึง 209.2 พันล้านดอลลาร์ในปี พ.ศ. 2565 และเห็นได้ชัดว่าอุปกรณ์ AR และ VR 14 ล้านเครื่องถูกขายในปี พ.ศ. 2562 จาก การใช้งานของ VR และ AR ที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีได้กลายมาเป็นตัวเชื่อมช่องว่างในการสื่อสารเหล่านั้น
ผ่านประสบการณ์โดยตรงยิ่งขึ้นไปอีก
เนื่องจากข้อจำกัดที่เกิดจากการระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก ฝ่ายทรัพยากรบุคคล จึงเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยี VR เพื่อจำลองสถานการณ์จริง เพื่อเตรียมความพร้อมพนักงานโดยให้เรียนรู้ผ่านสถานการณ์เสมือนจริง
เทคโนโลยีโลกเสมือนจริงในการรับพนักงานเข้าทำงาน:
จากข้อมูลของ PwC พบว่าจะมีงานมากกว่า 23 ล้านตำแหน่งที่จะใช้ประโยชน์จาก ไม่ AR ก็ VR ภายในปี พ.ศ. 2573
เนื่องจากเทคโนโลยี VR สามารถให้ประสบการณ์การทำงานแก่พนักงานใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่พนักงานกระจัดกระจายไปตามสถานที่ต่าง ๆ และการเดินทางถูกจำกัดเนื่องจากกฎหมายการล็อกดาวน์ที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เทคโนโลยี VR จะเป็น
เครื่องมือที่ทั้งทรงพลังและคุ้มค่า ที่จะเข้ามาช่วยการทำงานต่าง ๆ ของ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อรักษาพนักงานและเพิ่มผลผลิตจากการทำงานของพนักงาน
Deutsche Bahn บริษัทรถไฟในประเทศเยอรมนี เริ่มใช้ VR เมื่อสี่ปีก่อนเพื่อดึงดูดพนักงานใหม่ ผู้ที่มีโอกาสผ่านการคัดเลือกจะได้รับชุดหูฟัง VR และภายในไม่กี่วินาที พวกเขาก็ได้ลิ้มลองประสบการณ์งานในบรรยากาศที่เสมือนจริง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในเครือ KFC ก็ได้ใช้เกม VR เพื่อสอนวิธีการทอดไก่ให้กับพนักงาน
การฝึกฝนและพัฒนา:
การใช้งาน AR หรือ VR สามารถพลิกโฉมการฝึกอบรมและการพัฒนาได้อย่างมาก เพราะมันทำให้การฝึกอบรมพนักงานก้าวไปสู่ขั้นที่เหนือกว่าได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องด้วยวิธีการเรียนรู้รูปแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพอแล้วในปัจจุบันนี้ การใช้งาน AR หรือ VR สามารถสร้างสภาพแวดล้อมจำลองในโลกแห่งความเป็นจริง และป้องกันเหตุการณ์ที่ ไม่พึงปรารถนาใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง การฝึกได้ ในขณะเดียวกัน การนำเสนอเนื้อหา ในรูปแบบ 3 มิติ ก็มีบนแพลตฟอร์มมือถือเช่นกัน และมันทำให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น KFC ได้ใช้เกม VR เพื่อสอนวิธีทอดไก่ให้กับพนักงาน ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ อย่าง SweetRush ร่วมมือกับ Hilton เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี VR และสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้พนักงานได้ลิ้มลองรสชาติของการทำงานในโรงแรมตั้งแต่แผนกต้อนรับ ไปจนแผนกทำความสะอาด
5. ความปลอดภัยและความคล่องตัวจะกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ HR Tech
ในโลกปัจจุบันที่ผันผวนและการแข่งขันสูง นวัตกรรมทุกอย่าง และการเข้าถึงตลาดด้วยความเร็วสูงเป็นเพียงปัจจัยพื้นฐาน ธุรกิจต่าง ๆ จะต้องปลอดภัย คล่องแคล่ว และอยู่ในเชิงรุก และการอยู่ท่ามกลางสภาวะนี้ ทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลไม่สามารถหยุดนิ่งในสภาพสังคมที่ธุรกิจ มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และการสูญเสียข้อมูลต่าง ๆ อย่างเช่น ข้อมูลบัญชีเงินเดือน หมายเลข Aadhar หมายเลข PAN และบันทึกจากการตรวจสอบภายในหรือการประเมินพนักงาน กลายเป็น สิ่งที่อยู่เหนือการดูแลของฝ่ายทรัพยากรบุคคล
เนื่องจากมีการจัดเก็บข้อมูลทางออนไลน์ในไว้ในที่เดียวกันมากขึ้น การละเมิดข้อมูลจึงรุนแรงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อลูกค้าหรือพนักงานหลายล้านคนในคราวเดียว CIO ขององค์กรจึงจำเป็นต้อง ใช้ความพยายามในเชิงรุก และเริ่มเสริ่มสร้าง ความปลอดภัยโดยใช้องค์ประกอบที่ล้ำสมัย ซึ่งมีอยู่ในตลาดเพื่อป้องกันการขโมยข้อมูลที่อาจเกิดขึ้น
การรับรองและการประเมินที่สำคัญของเรา
ดังนั้น เมื่อระบบข้อมูลของฝ่ายทรัพยากรบุคคลถูกละเมิด ปัญหาจึงไม่ได้จบแค่ที่ข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานถูกขโมย เนื่องจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นศูนย์กลางของข้อมูลและกระบวนการ ทุกอย่างขององค์กร ด้วยเหตุนี้เอง ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนา ตระหนักรู้ พัฒนา และตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรอย่างรวดเร็วเช่นกัน
เมื่อเปรียบเทียบด้วยจำนวนพนักงานฝ่ายทรัพยากรบุคคลต่อพนักงานทั้งหมด อาจเป็นเรื่องยากสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่จะมีส่วนเข้าถึงพนักงานทุกคนในองค์กรเป็นการส่วนตัว เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงต้องดูแลพนักงานและ ช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ รวมถึง ระบุความต้องการการเรียนรู้และการเติบโตของพวกเขา สิ่งเหล่านี้ จะช่วยเสริมการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็น สิ่งสำคัญต่อความต้องการของมนุษย์
เมื่อถึงเวลาที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลรวบรวมคำติชม วิเคราะห์ แล้วนำมาจัดทำแผนปฏิบัติการ สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหาก็อาจจะเปลี่ยนไป ดังนั้น กลไกการวิเคราะห์ผลตอบรับเพื่อพัฒนา จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ จำเป็นต้องมีนโยบาย ด้านบุคลากรแบบไดนามิก เพื่อปรับสิ่งต่าง ๆ ให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงานและสภาวะตลาดมากขึ้นกว่าเดิม
ปี 2564 ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิดกันไว้
ปี พ.ศ. 2563 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่าปีที่ผ่าน ๆ มา ในขณะที่เรากำลังก้าวไปอีกขั้นในปี 2564 สิ่งใหม่ ๆ ที่น่าสนใจก็จะปรากฏขึ้น
เรามีบทเรียนที่เรียนรู้จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีการอุทิศตัว หรือการทุ่มเทครั้งใหม่ในด้านต่าง ๆ เช่น ประสบการณ์ของพนักงาน
งานเสมือนจริง เน้นผลลัพธ์ และ การจัดการความสามารถโดยใช้ AI ที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบทีมและวิวัฒนาการตลอดจนการพัฒนาทักษะจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อความสามารถขององค์กรในการดำเนินการซึ่งนำไปสู่การประสบความสำเร็จ
การเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกยุคดิจิทัลจะยิ่งเด่นชัดขึ้น เมื่อบริษัทต่าง ๆ พยายามเปลี่ยนแปลง เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายรูปแบบใหม่ ๆ โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อยกระดับแนวทางปฏิบัติ ส่งมอบคุณค่า และสร้างแนวร่วม ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จผ่านการให้คำแนะนำและโดยการสร้างความสัมพันธ์กับพนักงานทั้งภายใน และภายนอก
และท้ายที่สุด หลังการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในชีวิตและอนาคตที่มืดมนที่ปรากฏให้เห็น ซึ่งบริษัทกำลังเผชิญอยู่ จะเป็นตัวชี้ว่าทุกอย่างจะดีขึ้น
หรือแย่ลง
ช่วงเวลานี้ ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย ที่จะทำงานฝ่ายทรัพยากรบุคคล และหากคุณสนใจความท้าทาย นวัตกรรม การเปลี่ยนแปลง และการเติบโต
ส่วนบุคคล คุณควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่าให้คลาดสายตา
มีงานเขียนและการพูดมากมายเกี่ยวกับความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร ทุกคนทราบว่าสิ่งนี้สำคัญอย่างไรต่อนวัตกรรม ความสำเร็จ และความเติบโต แต่มีไม่กี่คนนักที่จะรู้ชัดว่าต้องใช้อะไรบ้างในการสร้างวัฒนธรรมผลการปฏิบัติงานระดับสูง ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรมีความซับซ้อนพอกันกับสมองของมนุษย์ กล่าวคือ มันมีจิตวิทยา มานุษยวิทยา สังคมวิทยา และจิตวิทยาสังคม ก่อนอื่น ความผูกพันจะเริ่มที่ระดับบุคคล ซึ่งก็คือ สิ่งที่ฉันเองก็กำลังมองหาและสิ่งที่ฉันกำลังทำอยู่...
ปรีติ คุปตา ประธานบริหารกลุ่ม ฝ่ายทรัพยากรบุคคลกลุ่ม อดิตยา เบอร์ล่า กรุ๊ป บทสนทนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีจัดการทรัพยากรบุคคล อนาคต และผลกระทบที่อาจมีต่อธุรกิจ ปรีติ คุปตา ศิษย์เก่าวิทยาลัยการจัดการ XLRI* และคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด...
เราอยู่ในการปฏิวัติด้านทรัพยากรบุคคลมาเกือบสองปีแล้ว เราเริ่มปีด้วยการถอนหายใจว่าในที่สุดก็หมดปี 2020 และหวังว่าวิกฤตโรคระบาดจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ไม่มีใครรู้ว่ามีอย่างอื่นรอเราอยู่อีก การทำงานทางไกล การทำงานแบบไฮบริด การกลับมาทำงาน การทำงานอย่างปลอดภัย และอื่นๆ อีกมากมาย เราผ่านช่วงเวลาที่สับสนวุ่นวายมาด้วยกัน จากการให้บริการลูกค้ากว่า 500 ราย...